Wed 24 Apr 2024 20:15:30

Author Topic: กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการแต่งรถ ผิดหรือไม่  (Read 51082 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
ลงไว้โดยปอม 313

พอดียังไม่เห็นมีใครโพสจะพยายามรวบรวมมาให้น่าจะเป็นประโยชน์กันคับ

ทุก คำตอบได้มาจาก พ.ต.ท.ยอดชาย ผู้สันติ รองผกก.2 บก.จร. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บก.02 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ถายศหรือตำแหน่งผิดขอโทษด้วยนะครับ เพราะที่copyมา ก็ล่วงเลยมา2ปีแล้ว)

ท่อไอเสีย
รถยนตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย หม้อพัก และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ มีความผิดหรือไม่ครับ
คำตอบ
ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กม.กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ ไม่เกิน 100 เดซิเบล รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 95 เดซิเบล

กระจกมองข้าง
กระจกมองข้างถ้าเราติดอันเล็กจะผิดกฎหมายมั๊ยครับ
คำตอบ
การติดกระจกมองข้างอันเล็ก ไม่ผิดกม.ครับ สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ
พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้
- เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวนหรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกม.
- กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ กม.ก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกันครับ

เรื่อง รถโหลด
รถ เก๋งโหลดเตี้ยผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ หรือมีกฏหมายบังคับให้โหลดได้ไม่เกินเท่าไหร่ เพราะรถบางคันท้ายโด่งมา บางคนโหลดให้ดูพองาม ซึ่งผมโดนตำรวจจับข้อหาดัดแปลงสภาพรถ และรถผมก็เป็นรถมือสอง ซื้อมาใช้สภาพนี้ครับ (ก็ไม่เตี้ยมากครับน่าจะประมาณ 1 - 2 นิ้ว สามารถก้มไปดูใต้ท้องรถได้) อยากรู้ว่า 1. ถ้าผิดกฏหมาย ทำไมถึงปล่อยให้เต๊นท์รถขายรถทำมาหรือดัดแปลงรถได้ครับ และทำไมเวลาตรวจสภาพรถก่อนต่อทะเบียนถึงผ่านละครับ ( แต่เวลาขับถูกจับ) และหนังสือลงโฆษณาขายโช้คโหลดอย่างนู้นอย่างงี้ ปล่อยให้เค้าขายได้อย่างไร(เท่ากับขายของที่ทำให้ผิดกฏหมายนะ) 2. ถ้ารถที่ดัดแปลงสภาพรถผิดกฏหมาย รถที่ใส่ไฮโดรลิค ยืดขึ้นยืดลง ใส่เครื่องเสียงดังๆรบกวนชาวบ้าน (เลียนแบบมอเตอร์โชว์) รถเก๋งเล็กที่ใส่เครื่อง J เทอร์โบ (แรงเกินขนาดของรถ) รถที่ยกสูงถือว่าดัดแปลงสภาพรถหรือเปล่า 3.ตอนผมจอดติดไฟแดงตำรวจมาขอดูใบขับขี่ พอผมยื่นให้ดู กับเดินกลับไปที่รถของเค้าเพื่อเขียนใบสั่ง ทิ้งให้ผมนั่งงงอยู่ในรถ โดยไม่แจงข้อหา ผมต้องขับออกไปแล้วจอดข้างทาง แล้วรีบเดินมาหาเค้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นเค้าจึงบอกว่าดัดแปลงสภาพรถ ผมบอกว่าผมซื้อมาสภาพนี้ หรือพูดอย่างไรก็ไม่สนเก็บใบขับขี่เข้ากระเป๋าแล้วให้ไปเสียค่าปรับที่โรง พัก พอไปเสียค่าปรับ จะปรับตั้งพันหนึ่ง (มันความผิดผมเหรอ ผมซื้อมาสภาพนี้น่ะ) ผมว่าบางครั้งตำรวจทำเกินไปในบางครั้งไม่รับฟังเหตุผลบ้าง น่าจะชี้แจงให้เข้าใจว่ามันผิดอย่างนี้ๆนะ ไปแก้ไขซะ ถ้าเจออีกจับแน่นอนอะไรประมาณนี้ 4. คุณว่าการมีส่วนในเรื่องของเงินค่าปรับมีส่วนเกี่ยวข้องไหม มีคนบอกว่า(ซึ่งผมก็เห็นด้วย) พอมีเอี่ยวส่วนแบ่งในเงินค่าปรับทำให้บางคนไม่เคยโดนจับก็โดน(ผมใช้ขับรถมา 2 ปี ไม่เคยโดนจับไปทำธุระหลายจังหวัดเพิ่งมาโดน) บางครั้งผมเห็นว่ามันเอื้อการนำมาใช้หาผลประโยชน์กับคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง กฏหมายมากเกินไป เหมือนดาบมีสองคมใช้ในทางที่ดีก็ดีไป เท่าที่ผมอยากรู้ก็มีเท่านี้ละครับ ซึ่งผมคิดว่าประชาชนทั้งหลายที่ใช้รถ ก็คงอยากจะทราบเหมือนกับผม
คำตอบ
ขออนุญาตแยกตอบเป็นหัวข้อหลักๆ อาจจะข้ามหรือกระโดดไปบ้าง ดังนี้
-- การใช้รถนั้น หากเป็นรถที่ซื้อต่อจากผู้อื่น (รถมือสอง) ผู้ที่ซื้อรถคันดังกล่าวมาหรือผู้ขับขี่รถ (จะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ก็ตาม) จะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของการขับขี่รถและของตัวรถที่ถูกเจ้าหน้าที่ ตำรวจจราจรตรวจพบว่าผิดกม.
สรุปว่า การใช้รถมือสองหรือการยืมรถคนอื่นมาขับ หรือการเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างสั่งให้มาขับรถ เช่นไปส่งของหรือเป็นคนขับรถ หาสกพบว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดกม. จะอ้างว่าไม่ใช้เจ้าของรถหรือเป็นรถซื้อต่อมา ย่อมไม่ได้ ยกเว้นจะมีกม.กำหนดไว้เป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าของ
-- รถโหลดเตี้ยหรือรถยกสูงไม่ผิดกม. เว้นแต่ 2.1 รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไปทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกม.ก็จะมีความผิดไปด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากที่กม.กำหนดไว้ ได้แก่ รถยนต์ : ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม.หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกม.ครับ
1. รถอยู่ในเต๊นท์ยังไม่ผิดกม.ครับ จอดไว้ในเต๊นท์ยังไม่ผิดจะผิดเมื่อเอาออกไปใช้ขับขี่ ส่วนโชคอัพรถนั้นยิ่งไม่ผิดกม.ใหญ่ เว้นแต่จะผิดตามพ.ร.บ. ผลิตภัณท์มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) เกี่ยวคุณสมบัติของโชคอัพ ครับ
เท่าที่ทราบ การตรวจสภาพรถผ่านสถานที่ตรวจรถเอกชนไม่ได้ตรวจเรื่องความเตี้ยของรถครับ มีแต่ตรวจเรื่องอุปกรณ์อื่น
2. รถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม.ก็ผิดกม.เช่นเดียวกันครับ รถใส่เครื่องเทอร์โบ หรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ ต้องให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกตรวจสภาพก่อน หากตรวจผ่านก็ไม่ผิดครับ
3.ประเด็นว่าเป็นรถมือสองคงเข้าใจดีแล้วนะครับ ว่า ใช้เป็นเหตุผลในการทำให้พ้นผิดไม่ได้ แต่ประเด็นกรณีที่ตำรวจไม่แจ้งข้อหาหรือความผิดให้ทราบนั้น ไม่ถูกต้อง โดยหลักแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าผิดอะไร แล้วจึงออกใบสั่ง
4. เรื่องการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้รับเงินรางวัลจากค่าปรับจราจรนั้น เป็นเพราะมีกม.บัญญัติไว้ว่า เงินค่าปรับจราจรร้อยละห้าสิบให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมหานคร และเป็นรายได้แผ่นดิน (กระทรวงการคลัง) ส่วนที่เหลือนั้นให้เป็นรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม ซึ่งในส่วนของตำรวจจราจรก็มีการเปลี่ยนแปลงกันหลายครั้ง ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้มีการกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนกม.มากขึ้น แต่การกระทำความผิดใดๆก็ตาม หากไม่เคยถูกจับมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดกม.เป็นสิ่งที่ถูกกม.ไปได้ ไม่ว่าจะไม่เคขถูกจับมา 2 หรือ 3 ปีหรือขับรถผ่านมากี่จังหวัดแล้วก็ตาม
« Last Edit: Wed 21 Jan 2015 15:01:40 by Frankenstyle »
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
เรื่องไฟตัดหมอก
อยากทราบว่าการเปิดไฟตัดหมอกนั้นผิดกฎหมายไหมครับแล้วถ้าผิดกฎหมายแล้วจะเสียค่าเปรียบเทียบปรับเท่าไหร่
คำตอบ
ขณะนี้กม.เปิดโอกาส ให้รถที่ต้องการติดไฟตัดหมอก
1. สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า
1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2

เรื่องการใส่ part รอบคัน
รถตู้ใส่กันชนรอบคันและมีเสาอากาศอยู่ด้านหลังจะผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ
คำตอบ
รถ ตู้หรือรถอื่นที่ติดกันชนรอบคัน หากพิจารณาจากการติดตั้งแล้ว ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น เช่นไม่ติดยื่นยาวจนเกินไป หรือไม่มีลักษณะเป็นของแหลมคม เมื่อมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูก ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ก็ยังไม่เป็นความผิด การติดเสาอากาศก็เช่นเดียวกัน การติดกันชนรอบคัน แม้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวรถ แต่ก็เสียเงิน และทำให้น้ำหนักรถเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ เปลืองน้ำมันรถเปล่าๆ กันชนเดิมก็มีอยู่แล้ว
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
เรื่อง การจับความเร็ว

อยาก ร่วมรณรงค์ทุกเรื่องเกี่ยวกับกับการใช้รถบนท้องถนน คือผมอยากทราบว่า กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เรื่องกำหนดความเร็ว 90 กม./ชม. เจาะจงพื้นที่หรือไม่�
คำตอบ
1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
1.1 ความเร็วตามที่กม.กำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
- รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท็กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
-ใข้ความเร็วในกทม.หรือ เขตเทศบาล ได้ไม่เกิน 80 กม.ต่อชม.
-ใช้ความเร็วนอกเขตกทม.หรือนอกเขตเทศบาลใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม.ต่อชม.
- ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย
1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกม.ระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรงๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย
แต่ บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โคงหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายหากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนไม่รู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณีแล้ว
1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้หรือเข้มวงดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิด ปกคิ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าวได้รับการรับรอง ความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วน จะมีการเรียกตรวจจับที่ความเร็วเกินกว่า 110 กม.ต่อชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน ( ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกม.กำหนดอัตราโทษไว้ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับ ไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนน ไว้ 15 วัน หลังจากนั้นมารับใบขับขี่คืนได้โรงพักที่เราเสียค่าปรับ
ปกติการจับกุม ผู้ขับขี่รถเร็วกว่ากม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่ แล้ว แต่บางสน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจากไม่มีระยะทางไกลๆในการยิงด้วยเครื่อง ตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย การขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชม. อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลดความรุนแรงของความบางเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมันในยุคพนักงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม.ต่อชม. กับ 110 ก.ม.ต่อชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
เรื่องฟิมล์กรองแสง
ขอตอบคำถามด้วยบทความดังต่อไปนี้ (ตอนที่ 1)

“ ฟีล์มกรองแสง ปัญหาอยู่ที่กรองแสงหรือสะท้อนแสง ”

ฟี ล์มกรองแสง หรือวัสดุกันแสง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะเข้าไปรถ ทำให้อุณหภูมิภายในห้องโดยสารของรถเย็นเร็วขึ้น ลดอันตราย ที่เกิดจากการแตกกระจายของเศษกระจกได้ดีเยี่ยม รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงของบุคคลภายในรถ (สตรี) ทั้งจากการถูกมอง หรือสังเกต จากภาย นอกโดยเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลาย และเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การจราจรติดขัด ยิ่งกว่านั้นเมื่อถึงคราวจำเป็น เร่งด่วน ยังได้อาศัยเป็นห้องแต่งตัวพอแก้ขัดไปได้ และรักษาอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถ เช่น คอนโซลหน้า-หลังไม่ให้ซีดหรือแห้งกรอบ ช่วยประ หยัดพลังงานที่เกิดจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ฟีล์ม กรองแสงยังช่วยลดรังสีอุลตราไวโอเล็ต และรังสียูวี ที่สำคัญยังช่วยป้องกันปัญหาทางสุขภาพอนามัย เช่น มะเร็งผิวหนัง ต้อนัยน์ตา และยังช่วยป้องกันรอยขีดข่วยที่อาจเกิดกับกระจกรถได้อีกด้วย

ตำรวจเอากม.อะไรมาจับ เอาเหตุผลอะไรมาตอบสังคม ก่อนที่ท่านจะอ่านข้อความต่อไปนี้ ขอให้สูดลมหายใจลึกๆไว้ก่อนครับ

ฟีล์มกรองแสงโดยรวม มี 3 ชนิด คือ

ชนิด ที่ 1 ฟีล์มกรองแสงทั่วไป เป็นชนิดไม่มีการเคลือบโลหะ ฟีล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติในการลดแสงที่ส่องผ่านกระจก ไม่มีการสะท้อนแสงหรือมีน้อยมาก เพิ่มความเข้มของสีกระจก เนื้อฟีล์มจะบาง ไม่มีความเงามัน

ชนิดที่ 2 ฟีล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ มีการพัฒนาคุณสมบัติจากชนิดที่ 1 โดยการผสมโลหะหนัก เช่น ไอสารอลูมินั่ม นิเกิล ทองแดง หรือโลหะอัลลอยด์อื่นๆ ผิวฟีล์มจะมีสีเหลือบเป็นมันเงา สีจะแตกต่างกันตามประเภทของไอโลหะ เนื้อฟีล์มจะหนากว่าชนิดที่ 1 ลดการส่องผ่านของแสงได้มาก มีการสะท้อนแสงได้ดี ค่าการสะท้อนแสงมากน้อยขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะที่เคลือบบนผิวฟีล์ม

ชนิด ที่ 3 ฟีล์มกรองแสงชนิดใช้กับกระจกอาคาร-สำนักงาน (เรียกกันทั่วไปว่า ฟีล์มฉาบปรอท ทั้งที่ไม่มีส่วนผสมของปรอทเลย แต่เรียกกันตามสีที่คล้ายสีของปรอท ) มีส่วนผสมของโลหะมากที่สุด สะท้อนแสงมากกว่า 50% ไม่เหมาะกับการนำมาติดกับกระจกรถอย่างยิ่ง เนื่องจากค่าของการสะท้อนแสงมีมาก ทำให้เข้าสะท้อนเข้าตาของผู้ขับขี่รถทั้งที่วิ่งสวนทางและตามหลัง

เป็น สาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นสิ่งต่างจากภายในรถของผู้ขับขี่รถเสียไป (ฟีล์มชนิดนี้สังเกตุได้ง่าย จะมีการสะท้อนแสงได้มาก จนบางครั้งถึงกับหวีผม หรือบีบสิวได้)

กม.ที่เกี่ยวข้องกับฟีล์มสะท้อนแสง (เฉพาะพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และพ.ร.บ.รถยนต์ฯ)
1. พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ไม่อาจแลเห็นทางพอแก่ความปลอดภัยมาใช้ในทางเดินรถ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทาง เดินรถได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- ระเบียบกรมตำรวจ ว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำ มาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2541
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ลงวันที่ 24 ก.ย.2542
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การยกเลิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 มิ.ย.2544

2. พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบ ถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว


ก่อน ที่จะมีการบังคับใช้ฟีล์มกรองแสงนั้น ได้มีการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก ประกอบกับสถานการณ์ในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัสดุกรองแสง กับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ สมควรที่จะทำการศึกษาความเหมาะสมในเรื่องวัสดุกรองแสงติดรถยนต์ให้เป็นที่ ชัดเจนเสียก่อน จึงให้ยกเลิกการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ เมื่อปี พ.ศ.2544

ผลของการยกเลิกกม. ทำให้สามารถติดฟีล์มกรองแสงที่รถได้โดยเสรี เนื่องจากไม่มีกม.บังคับไว้ ประกอบกับได้มีการพัฒนาคุณสมบัติของฟีล์มจากชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่ 2 โดยมีหลักสำคัญคือ การเคลือบโลหะลงบนแผ่นฟีล์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแสงหรือความร้อนที่จะผ่านเข้าไปภายในรถ ( Visible Light Transmission ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 8% - 66% และการสะท้อนแสงหรือความร้อน ( Visible Light Reflectance ) ซึ่งมีระดับค่าตั้งแต่ 5% - 43 % และเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถอย่างมาก

อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมา คือ ความแตกต่างกันระ –หว่างระดับต่ำสุด ( 5% ) และสูงสุดของค่าการสะท้อนแสง ( 43% ) ทำให้รถติดฟีล์มดังกล่าว มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งรถที่มีการสะท้อนแสงน้อยสุดไปจนถึงมากสุด ประกอบกับมีผู้นำรถติดฟีล์มชนิดที่ 3 (สำหรับอาคารสำนักงาน) และนำออกมาใช้ในถนนเพิ่มขึ้น
ต่อมาในวันที่ 27 ส.ค.2547 ได้มีการร้องเรียนผ่านนายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผู้ตรวจ การแผ่นดินของรัฐสภา ไปยังนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่ง ชาติ กรณีเริ่มมีรถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบฉาบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดที่ 3 ) ซึ่งเมื่อถูกแสงแดดจะสะท้อนไปเข้าตาผู้ขับรถคันอื่นที่ขับตามมาหรือขับข้างๆ ทำให้ตาพร่า อันก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งจากอุบัติเหตุ อีกทั้งง่ายต่อการก่ออาชญากรรม เพราะฟีล์มชนิดดังกล่าวจะไม่เห็นคนข้างใน เนื่อง จากกันสายตาโดยสิ้นเชิง ซึ่งปัญหาอันอาจเกิดภัยอันตรายร้ายแรงดัง กล่าว โดยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้ประสพด้วยตัวเองมาแล้ว

จึง ได้มีการสั่งการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน่วย งานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทั่วประ- เทศทำการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือผู้ขับขี่รถยนต์ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคารสำนักงาน ) งดใช้ฟีล์มประเภทดัง กล่าว หากพบมีผู้ฝ่าฝืนให้กวดขันจับกุมและดำเนินคดี ในความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิต ใจของผู้อื่นตาม มีอัตราโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท

ปรากฏว่าในการ กวดขันจับกุมตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 นั้น เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของค่าการสะท้อนแสงที่อาจ เป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นไว้ คงให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติในการพิจารณา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปัจเจกบุคคล รวมทั้งเวลา ตลอดจนสภาพแวดล้อม รวมทั้งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ขับขี่รถที่ถูกตรวจจับกับเจ้า หน้าที่ตำรวจ ในประเด็นการจับกุมความผิดฐาน ติดฟีล์ม กรองแสง ซึ่งได้มีการยกเลิกกม.ไปแล้ว กับความผิดฐาน เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปที่รถซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิต ใจของผู้อื่น (สิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่นี้ อาจหมายรวมถึงวัสดุอื่นใด เช่น ผ้าม่าน กระดาษ สติกเกอร์โฆษณาต่างๆ มู่ลี่กันแดด ฉากกั้น ฯลฯ )

สำหรับ การกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟีล์ม กรองแสงนั้น ผู้ประกอบการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นผู้ประสานให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เพื่อใช้กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถที่ติดฟีล์มกรองแสงไปแล้ว ได้รับความเดือดร้อนและเกิดความสับสนอันอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งของสังคม ในขณะที่ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานการสะท้อนแสงของฟีล์มกรองแสง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในวันที่ 27 ก.ย.2547 จึงได้มีบันทึกสั่งการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ใช้มาตรการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ขับขี่และร้านค้าผู้ติดฟีล์มที่ อาจเกิดอันตรายดังกล่าวไปพลางก่อน

อย่างไรก็ตาม รถที่ติดฟีล์มกันแดดแบบปรอทสะท้อนแสง ( ชนิดติดอาคาร-สำนักงาน ) ซึ่งเป็นชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่นอย่าง ชัดเจน จะมีการกวดขันจับกุมอย่างเข้ม งวดต่อไป

ส่วนรถที่ติดฟีล์ มกรองแสงชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ไปแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลอกออกในขณะนี้ สามารถใช้ต่อไปได้ จนกว่าจะมีการกำหนดค่ามาตรฐาน หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาก่อน

ปัญหา คือ รถที่กำลังจะติดฟีล์มกรองแสงใหม่ หรือรถใหม่ ยังคงสามารถจะติดฟีล์มได้ แต่ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดของฟีล์มที่จะติด ไม่ว่าจะเป็นชนิด ประเภท คุณสมบัติ โครงสร้าง และสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่ ค่าการสะท้อนแสง ซึ่งเป็นหน้าที่ของร้านค้าประดับยนต์ที่จะต้องชี้แจงให้ข้อแนะนำกับผู้ บริโภคได้เข้าใจอย่างถูกต้อง รวมถึงการให้ร้านค้าผู้ประกอบการออกใบรับรองคุณสมบัติของฟีล์มที่ติด เพื่อไว้ตรวจ สอบในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้น ยังอยู่บนพื้นฐานของดุลยพินิจที่กม.กำหนดไว้กว้างๆ อาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติกับผู้ขับ ขี่รถบ้าง ดังนั้นเมื่อมีการตรวจจับและออกใบสั่ง หากยังไม่ยอมรับในดุลยพินิจของเจ้าข้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม ข้อแนะนำคือ ขอให้นำใบสั่งพร้อมรถไปพบพนักงานสอบสวน สารวัตรจราจรหรือ รองผู้กำกับจราจร หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบให้เกิดความถูกต้องและลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในที่สุด
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
เรื่องของการที่เจ้าหน้าที่มาเคลื่อนย้ายหรือล๊อกล้อรถของเรากันครับ ว่าสามารถทำได้หรือเปล่า

ตอบ มาตรา 59 วรรคแรกและวรรคสอง เจ้าหน้าที่นั้นมีสิทธิสั่งให้เราเคลื่อนย้าย หรือเคลื่อนย้ายหรือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถที่ จอดอยู่ หรือ หยุดอยู่ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน พรบ.นี้ อย่างเช่นไปจอดอยู่บนทางเท้า หรือไปจอดอยู่ตรงที่มีป้ายไว้ว่าห้ามจอด เป็นต้น

แล้วถ้าหากเจ้าหน้าที่ล๊อกล้อของเรา แล้วทำให้แม็กซ์ของเราเป็นรอยละ

ตอบ มาตรา 59 วรรคสาม เจ้าหน้าที่นั้นไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้าย หรือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย แต่ถ้าหากเป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ เจ้าหน้าที่ก็จะต้องรับผิดด้วยนะครับ

ถ้าหากเราโดนล๊อกล้อแล้วไม่ยอมจ่ายเงินละ จะเกิดอะไรขึ้น

ตอบ มาตรา 59 วรรคหก ถ้าหากเราไม่จ่ายค่าปรับ เจ้าหน้าที่มีสิทธิยึดหน่วงรถไว้จนกว่าเราจะไปเสียค่าปรับ และเราอาจจะเสียค่าดูแลรักษาด้วย แต่ถ้าหากเราปล่อยให้เลยกำหนดให้ไปจ่ายค่าปรับไปกว่าสามเดือน เจ้าหน้าที่นั้นจะนำรถของเราขายทอดตลาดไป และนำเงินที่ได้มาหักค่าปรับ ค่าดูแลรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆในการขายทอดตลาด ส่วนเงินที่เหลือเจ้าหน้าที่เค้าก็จะเอามาคืนให้เรา ( อันนี้ต้องระวังนะ แต่พวกเราคงไม่เป็นกันหรอก รักรถจะตาย ไม่เห็นหน้ารถได้ไม่เกินอาทิตย์ก็คงเอาค่าปรับไปจ่ายแล้วละ ^^ )
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
มาต่อด้วยเรื่องของเมาแล้วขับกันนิ๊ดส์นึง เรามาพูดกันง่ายๆตามภาษาชาวบ้านกันนะครับ

ถ้า หากเจ้าหน้าที่นั้นสงสัยว่าเรานั้นเมาแล้วขับ ก็อาจจะเรียกให้เราหยุดรถเพื่อทดสอบได้ แต่ถ้าหากว่าเราไม่ยอมให้ทดสอบนั้น เจ้าหน้าที่มีสิทธิที่จะกักตัวเราไว้ภายในระยะเวลาแล้วแต่จำเป็น เพื่อให้การทดสอบนั้นเสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด แล้วถ้าหากผลการทดสอบนั้นออกมาว่าเราไม่มีความผิด เจ้าหน้าที่ก็จะต้องปล่อยตัวเราไปทันที

################################

อะ คราวนี้มาลองศึกษาในเรื่องการปฏิบัติตามสัญญาณนกหวีดของเจ้าหน้าที่กันบ้าง

มาตรา 25 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีต่อไปนี้

(1) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที

(2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้

credit http://www.corollaclubrace.com/forum/index.php?topic=3278.15
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
เกี่ยวกับไฟ
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
มาตรา ๑๑ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบ เมตร ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ส่วนรายละเอียด ต้องดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ.2522) ออกตามความ พ.ร.บ.ราจรฯ ตามนี้

ข้อ ๑ รถทุกชนิดที่อยู่ในความควบคุมของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ต้องมีโคมไฟตามประเภทและลักษณะที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

ข้อ ๒ รถยนต์ต้องมีโคมไฟหน้ารถและโคมไฟท้ายรถ ดังต่อไปนี้

(๑) โคมไฟหน้ารถมี ๓ ประเภท คือ
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวงสูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อย กว่า ๐.๖๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่ เกินดวงละ ๕๐ วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร ศูนย์รวมแสงต้องไม่สูงกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบ และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียงดวงเดียวโดยติดไว้ที่ กลางหน้ารถ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า ๐.๖๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๓๕ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกันใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่ เกินดวงละ ๕๐ วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้
ชัดเจนในระยะไม่น้อย กว่า ๓๐ เมตร ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า ๒ องศา หรือ ๐.๒๐ เมตร ในระยะ ๗.๕๐ เมตร และไม่เฉไปทางขวา ในกรณีที่เป็นรถยนตร์สามล้อให้ใช้โคมไฟประเภทนี้เพียงดวงเดียว โดยติดไว้ที่กลางหน้ารถ
(ค) โคมไฟเล็ก ให้ติดหน้ารถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โดยให้อยู่ด้านริมสุดแต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน ๐.๔๐ เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ ๑๐ วัตต์ และต้องมีแสงสว่างสามารถมองเห็น
ได้จากระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตรโคมไฟแสงพุ่งไกล โคมไฟแสงพุ่งต่ำ และโคมไฟเล็ก จะรวมอยู่ในดวงเดียวกัน
ก็ได้

(๒) โคมไฟท้ายรถ มี ๓ ประเภท คือ
(ก) โคมไฟท้าย ให้ติดท้ายรถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงแดดมีกำลังไฟเท่ากัน และมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
(ข) โคมไฟหยุด ให้ติดท้ายรถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงแดดมีกำลังไฟเท่ากันและมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อย กว่า ๓๐ เมตร <-- มีกฎกระทรวงตามออกมาทีหลัง ให้มีดวงกลางเพิ่มได้อีก 1 ดวง ตามนี้http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/A/061/1.PDF
(ค) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ ให้ติดท้ายรถ ใช้ไฟแสงขาวส่องที่ป้ายทะเบียนรถมีแสงสว่างสามารถมองเห็นเครื่องหมายหรือตัว อักษรและตัวเลขได้ชัดเจนจากระยะไม่น้อยกว่า๒๐ เมตร แต่ต้องมีที่บังมิให้แสงพุ่งออกไปทางท้ายรถโคมไฟท้าย โคมไฟหยุด และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถต้องส่องแสงสว่างพร้อมกับโคมไฟหน้ารถ แต่โคมไฟหยุดต้องส่องแสงสว่าง เมื่อใช้ห้ามล้อเท้า


ที่มาครับ http://www.lawpolice.thaigov.net/police/aspboard_Question.asp?GID=4187
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
การไม่มีใบอนุญาตขับขี่ยึดรถได้หรือไม่

การขับรถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง
รถบดถนน รถแทรกเตอร์ หรือรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตาม
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 จะต้องมีใบอนุญาตขับรถหากไม่มีต้องถูกจับกุม
ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการจับกุมนั้นเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าพนักงาน
จราจรจะนำตัวผู้กระทำผิดพร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นวัตถุพยานไป
พบพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนเหตุที่ต้องนำรถ
จักรยานยนต์ไปด้วยสืบเนื่องจากรถจักรยานยนต์เป็นวัตถุพยานอันสำคัญ
ประกอบในการดำเนินคดี เพราะหากมีการต่อสู้คดีพนักงานสอบสวนก็
ไม่อาจมีวัตถุพยานที่จะแสดงให้ศาลเชื่อว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดจริง
ประกอบกับความผิดฐาน ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตนั้น จะกระทำผิดได้ก็
ต่อเมื่อขับรถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หากไม่มีรถก็ไม่สามารถ
กระทำความผิดในฐานดังกล่าวได้
ในการดำเนินคดีหากผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้ทำการ
เปรียบเทียบปรับพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวน
ให้กับพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล รถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นวัตถุพยาน
ประกอบคดีก็จะปรากฎเป็นของกลางคดีอาญาในสำนวนการสอบสวน และ
ในชั้นพิจารณาหากศาลได้พิพากษาให้ลงโทษปรับ และปรากฎว่าผู้ต้องหา
ไม่มีเงินเสียค่าปรับศาลอาจยึดรถจักรยานยนต์เพื่อชดใช้แทนค่าปรับโดยไม่
กักขังแทนค่าปรับก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 29 ครับ
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
กฎหมายใหม่ที่คนมีรถต้องรู้
ใน ขณะนี้ ได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ( ฉบับที่ 4) พ.ศ .2550 มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2550 ทำให้กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน เป็นต้นไป หลังกฎหมายฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จะมีผลต่อผู้ทำประกันภัยภาคบังคับ ดังนี้

1. ยกเลิกสติกเกอร์ประกันภัย พ.ร.บ. ให้ผู้ทำประกัน พ.ร.บ.เก็บกรมธรรม์ ประกันภัยไว้กับตัวตลอดเวลาที่ใช้รถ เพื่อพร้อมต่อการตรวจสอบจาก เจ้าพนักงาน
2. กรมการขนส่งทางบก มีสิทธิไม่ต่อทะเบียนประจำปีแก่เจ้าของรถที่ไม่มี พ.ร.บ. และมีสิทธิขาย พ.ร.บ.แก่เจ้าของรถ โดยเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัท ประกันภัย 5% และให้ลูกค้าได้ส่วนลด 7%
3. มีการขยายความหมายของค่าเสียหายเบื้องต้นกว้างขึ้น ประกอบด้วย ค่า รักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่าย ที่จำเป็น อย่างอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยเบื้องต้น จากเดิมที่ จำกัดเฉพาะค่ารักษาพยาบาล

นอกจากนี้ ยังมีผลต่อระบบการจัดการของบริษัทประกันภัย เพราะมีอำนาจให้บริษัทรายงานการรับประกัน พ.ร.บ.ต่อกรมการประกันภัยทันทีที่มีการรับประกัน และถ้ามีการยกเลิกกรมธรรม์ต้องแจ้งกรมการประกันภัยทันทีกรณีรถไม่มี พ.ร.บ . หรือบริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายไม่ครบจำนวน เมื่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นออกไปก่อน กรมการประกันภัยจะเรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปคืนจาเจ้าของรถหรือบริษัท ประกันภัย พร้อมบวกเพิ่มอีก 20% จากค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไป จากเจ้าของรถไม่มี พ.ร.บ. และจากบริษัทประกันภัย

ที่มา : นสพ.โพสต์ทูเดย์ 11 เม.ย. 2550 (กฎหมายบังคับว่าคนมีรถต้องทำ พ.ร.บ. รถ)

จาก ข้อมูลข้างต้น ข้อแนะนำสำหรับท่านที่กำลังจะไปต่อ พ.ร.บ. คืออย่าลืมว่าแบบเดิมที่ติดสติกเกอร์ไม่ใช้แล้ว และเมื่อทำ พ.ร.บ. เสร็จบริษัทประกันต้องส่งข้อมูลออนไลน์ไปยังกรมการประกันภัยทันทีที่มีการ รับประกัน ซึ่งหากไม่มีการรายงานก็หมายความว่าเรายังไม่สามารถต่อทะเบียนรถกับกรมการขน ส่งทางบกได้ซึ่งในขณะนี้ผู้รับทำประกัน หรือ พ.ร.บ.ทั่วไปโดยมากยังไม่มีระบบแจ้งข้อมูลออนไลน์และด้วยเหตุนี้จึงส่งผล กระทบทั้งผู้ทำประกันและผู้รับทำประกันรายย่อย แต่ทางออกของผู้ทำประกันอย่างเราๆ ก็สามารถซื้อ พ.ร.บ. กับกรมการขนส่งทางบกซึ่งจะได้ส่วนลด 7% 7% อาจดูเยอะ แต่ถ้าวันนี้ทั้งสองฝ่ายมีทางออก คือทั้งผู้ทำประกันและผู้รับทำประกันมีทางออกที่ดีร่วมกัน โดยแต่ล่ะฝ่ายได้ส่วนลด 20%-45% จากบริษัทประกันชั้นนำกว่า 30 บริษัทให้เลือก และสามารถทำ พ.ร.บ. หรือทำประกันโดยข้อมูลส่งออนไลน์ถึงกรมการประกันภัยทันทีก็เป็นทางเลือกที่ ดีนะคะ ดีสำหรับคนทำประกันที่สามารถเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเวลาเดียวกันแม้จะ ขายเองซื้อเองเพียงคนเดียวก็คุ้มค่าและไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำพ.ร.บ. อีกต่อไป

หากท่านสนใจเป็นตัวแทนประกันหรือทำประกันออนไลน์กับบริษัท ชั้นนำกว่า 30 บริษัท(แม้จะไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนก็ตาม หรือแม้จะไม่มีบัตรนายหน้าประกันก็ตาม)ซึ่งจะได้ราคาที่ถูกกว่าและทำได้ ง่ายๆอยู่ที่บ้านของท่าน คือขายเองซื้อเองคนเดียวก็คุ้มค่าหรือจะขายให้ญาติก็ได้

ส่วนลดขั้น ต่ำ 20% หรืออาจจะสูงถึง 45% สำหรับท่านที่มีบัตรนายหน้า เว็บไซต์ประกันรถยนต์แห่งหนึ่งเป็นเว็บฯประกันภัยเครือข่ายเจ้าแรกของประเทศ ที่สมบูรณ์ที่สุด และเปิดตัวรูปแบบใหม่ส่งออนไลน์รับกฎหมายใหม่อย่างลงตัว ควบคุมโดยศรีกรุงโบรคเกอร์มีเงื่อนไข และผลตอบแทนที่น่าสนใจมากเลยครับ อย่างเช่น
- แค่มีใบสมัครสอบนายหน้า ถึงแม้ยังไม่รู้ผลสอบก็ได้เป็นผู้จัดการนาน 2 เดือน - นายหน้าบริษัทประกันภัยอื่น ๆ สามารถนำตำแหน่งไปขอเทียบโอน ได้ และจะได้ตำแหน่งเดียวกัน โดยไม่ต้องลาออกจากบริษัทนั้น ๆ
- มีบริษัทประกันภัยกว่า 30 บริษัทเข้าร่วมรายการ เช่น วิริยะ อาคเนยค์ เอเชีย เป็นต้น
- มีบริการเงินผ่อน โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ลูกค้า นาน 6 เดือน - มีระบบเช็คเบี้ยออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งโบรคเกอร์น้อยรายจะมี
- ไม่บังคับยอดขาย ไม่ต้องสังกัดบริษัท สร้างทีมงานให้เติบโตแล้ว หยุดทำมีรายได้โอนเป็นมรดกได้ด้วย
- มีระบบขยายงานทางอินเตอร์เน็ตให้ทุก ๆ คน ภายใน 1 นาที ทดลอง ฟรี 1 เดือน โดยไม่ต้องมีความรู้ใด ๆ มาก่อน
- พิเศษสุด ๆ หากทดลองทำธุรกิจภายในสิ้นเดือนนี้ จะมีเว็บไซต์เพื่อ ขาย พ.ร.บ. และประกันภัยให้อีกด้วย

สรุป ว่า หากท่านไหนที่สนใจเป็นตัวแทนขาย พ.ร.บ. ซึ่งคนที่มีรถต้องทำอยู่แล้วทุกคน เพราะกฎหมายบังคับสามารถเป็นได้แม้จะไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อน (อย่างน้อยๆก็ทำ พ.ร.บ. รถตัวเองหรือรถคนในครอบครัว เพื่อนหรือคนรู้จัก ซึ่งจะได้ในราคาที่ถูกกว่า 20% และทำเป็นอาชีพเสริมได้) ถ้าสนใจอยากจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปดูรายละเอียดได้เว็บไซต์ www.isn-network.com/biz?id=446 (สมัครสมาชิก ลด 20 %-47%) www.isn-network.com/bid?id=446 (สำหรับดูรายละเอียด พ.ร.บ. จาก 30 บริษัทประกันชั้นนำ)
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
รู้ลึก รู้จริง เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับความเร็ว (ทางหลวง)

สำหรับ กฎหมายเกี่ยวกับความเร็วบนทางหลวงนั้น มีกฎหมายกำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 โดยสรุปได้ว่า ข้อ 2 อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงชนบทมีดังต่อไปนี้ (1)รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร (2)รถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง หรือรถสามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร (3) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ไม่ว่าจะลากจูงรถพ่วงด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 กำหนดไว้ว่า ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางสาย กรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ (1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชัวโมงละ 100 กิโลเมตร (2)รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชัวโมงละ 80 กิโลเมตร (3)รถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชัวโมงละ 120 กิโลเมตร
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
รายละเอียดในการตั้งด่านตรวจ เช่น ต้องมีใคร ตำแหน่งไหน และ ตั้งอย่างไร เพื่อ ให้ทราบว่า ไม่ใช้ด้านปลอม
วัตถุ ประสงค์ของการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นสำคัญ หลักเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างด่านตรวจ และจุดสกัดอยู่ตรงที่ด่านตรวจ เป็นสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่เป็นการถาวร หรือประจำ ส่วนจุดสกัด หรือจุดตรวจเป็นสถานที่ที่กำหนดขึ้นให้เป็นลักษณะที่เป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นการปฏิบัติภารกิจตรงจุดตรวจ เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ในเวลาที่รวมกันแล้วไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และถ้าเสร็จภารกิจจะต้องยกเลิกการปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดตรวจนั้นทันที ส่วนเรื่องจุดสกัดนั้นเป็นเรื่องของการเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนิน การได้ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ก็จะต้องมีการยกเลิกเช่นกัน // การตั้งด่านตรวจ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเท่านั้น ส่วนเรื่องการตั้งจุดตรวจ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับการขึ้นไป ซึ่งการอนุญาตจะมีระยะเวลาไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง ส่วนจุดสกัดจะตั้งได้ก็แต่ในกรณีฉุกเฉิน และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจขึ้นไป โดยมีกำหนดเวลาเป็นครั้งคราวตามกรณีของเหตุการณ์หรือความจำเป็น // ในการปฏิบัติงานได้กำหนดเป็นกรอบไว้ชัดเจนว่า ต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้าและต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติ หน้าที่ นอกจากนี้ในการดำเนินการตรวจค้น ต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวล ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีอีกด้วย ในกรณีที่จะมีการตั้งด่าน จุดตรวจ หรือจุดสกัด ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายของการจราจรให้เห็นชัดเจนในระยะที่สามารถมอง เห็น ที่บอกว่า หยุดตรวจ และในเวลาค่ำคืน ต้องมีแสงไฟฟ้าส่องสว่างให้เห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องติดป้ายชื่อ ชั้นยศ พร้อมทั้งมีแผ่นป้ายที่เขียนในทำนองเตือนสติเจ้าหน้าที่ที่ตรวจค้นเองว่า หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งได้ที่หมายเลขใด (ผมก็ไม่รู้หมายเลขอะไรครับ 191 ก็น่าจะได้) เป็นต้น

ที่มา http://www.trafficpolice.go.th
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
ทางบก.จร.จึงขอส่งกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาให้ประชาชนได้รับทราบว่าป้ายกราฟิกที่นำมาติดรถวิ่งบนท้องถนนนั้น ต้อง
1. เป็นเลขสวยที่ได้กำหนดไว้ในกฏกระทรวง 301 เลขหมายเท่านั้นและ
2. ต้องประมูลจากกรมการขนส่งทางบก ต้องเข้าองค์ประกอบ 2 ข้อนี้ ถึงจะเป็นป้ายกราฟิกที่ถูกกฏหมายได้ครับ ส่วนใครมีเลขทะเบียนไหนที่ไม่เข้า 301 เลขหมายตามกฏกระทรวง จะไปขอกรมการขนส่งทางบก ทำป้ายกราฟิก ไม่ได้ครับ เพราะต้องเข้าองค์ประกอบตาม 2 ข้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจะทำป้ายกราฟิกได้ ที่ผ่านมาถ้ามีการอธิบายคลาดเคลื่อน ก็ขออภัยมายังณ.ที่นี้ แต่ตอนนี้ได้นำกฏหมายมาแสดงให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติให้เห็น เด่นชัดแล้ว ป้ายกราฟิก ต้องเป็น
1.เลขสวย 301 เลขหมายเท่านั้นคือ
-เลขตัวเดียว
-เลขสองตัวเหมือนกัน
-เลขสามตัวเหมือนกัน
-เลขสี่ตัวเหมือนกัน
-เลขหลักพัน
-เลขเรียงสามตัว
-เลขเรียงสี่ตัว
-เลขคู่เหมือน
-เลขคู่หาม
-เลขคู่สลับ ดูได้จากภาพครับ

2.ต้อง ได้จากการประมูลจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ใครอยากได้ป้ายกราฟิก แต่ไม่มีเงินไปประมูล ก็คอยให้ท่านกรมการขนส่งทางบกแก้ไขกฏหมายก่อนนะครับ ถ้าไปทำป้ายกราฟิกขึ้นเองใหม่ หรือเอาสติกเกอร์กราฟิกไปติดป้ายของตัวเอง ตอนนี้ผิดกฏหมายอยู่ครับ

ที่มา http://www.trafficpolice.go.th/view_traffic.php?id=8848
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
ลงไว้โดยนนท์ DME 152

เอามาฝากไว้หน่อยนะครับ เปนแบบสรุป แต่อาจจะไม่ละเอียดเท่าของพี่ปอม

เรื่อง ความผิดทางด้านจราจร และการจับกุมรถแต่ง สรุปได้ดังนี้

1. ท่อใหญ่ ที่เสียงดังไม่เกิน 90 เดซิเบลไม่ผิด ถ้าจะจับต้องมีเครื่องวัด จะใช้หูวัดเอาไม่ได้
2. สปอยเล่อร์ ชุดแต่งไฟเบอร์ ไม่ผิด แต่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย
3. รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. ( ต่ำกว่าผิด )
4. รถยกสูงต้องไม่สูงเกินกว่า 175 ซม.
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆติดได้ไม่ผิด
6. การแข่งขันรถบนถนนหลวง ผิดกฎหมาย ยึดรถ ส่งฟ้องศาลทันที
7. เปิดไฟโคมเหลืองในขณะที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกควัน ...อาจโดนเตือน
8. ควันขาว และควันดำ...ผิดครับเพราะก่อให้เกิดมลพิษ
9. การตัดต่อ ทำป้ายทะเบียนยาว ....ผิดกฎหมายฐานปลอมแปลง
10. ขับรถขณะมึนเมา...ผิดกฎหมาย จับได้ส่งฟ้องศาล   

แถมอีกนิดหน่อย
การใช้ไฟโคมเหลืองถ้าใช้ให้ถูกกับกาละเทศะ.....ไม่ผิดครับ
เช่นใช้ ในขณะที่ฝนตกหนัก ที่มีหมอกควันหนาทึบ...ใช้ได้ไม่ผิด
แต่การใช้ขณะค่ำคืนปัจจุบันมันจะเข้าตาคันหน้า จึงเตือนไม่ให้ใช้
ฉะนั้นการใช้งานให้ถูกกาละเทศะจึงจะปลอดภัยทุกประการ

การติดแผ่นป้ายไม่ถูกตำแหน่ง เช่นติดที่กันชนด้านซ้าย หรือขวา
แต่ควรติดในตำแหน่งที่ชัดเจน ป้ายไม่มีการดัดแปลง หรือทำให้เล็กลง
คุยกันดีๆ พออนุโลมได้ ถ้าตำรวจท่านนั้นไม่..ฟัน...อย่างเดียว

รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม.

1. ถ้าไฟหน้าต่ำกว่า 40 cm. วัดจากพื้นถนนขึ้นมา ไม่ต้องเปิดไฟหน้า ผิด พ.ร.บ.
    ถ้าวัดแล้วไม่ถึง 40 cm. วัดได้ 41 - 175 cm. ไม่ผิด พ.ร.บ.
2. ล้อ MAX. ขอบเท่าใหร่ ใส่มันขอบ 30 ก็ไม่ผิดกฏหมาย ถ้าไม่ล้นออกมานอกตัวถัง
    ของรถ Standard. ไม่ผิดกฏหมาย..... แต่ถ้าไปดึงโป่งล้อให้ยื่นออกมาจากที่
    จดทะเบียนไว้ ผิดแน่นอนครับ....ดัดแปลงสภาพ เต็มๆ
3. ท่อใหญ่ แค่ไหนก็ไม่ผิด เพราะไม่มีกฎหมายระบุไว้ มีแต่เสียง ถ้าดังเกิน 90 db.
    อ๋อ...แน่นอนครับ....ผิดเห็นๆอยู่แล้ว
4. ชุดแต่ง สปอยเลอร์ สเกิรต์ กันชนไฟเบอร์ เกจ์วัดต่างๆ ภายในตัวรถ ก็ไม่ผิดกฏหมาย
    ไม่มีระบุเอาไว้

 

Credit : rz-racingzone
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
ลงไว้โดยนนท์ DME 152

เอามาฝากไว้หน่อยนะครับ เปนแบบสรุป แต่อาจจะไม่ละเอียดเท่าของพี่ปอม

เรื่อง ความผิดทางด้านจราจร และการจับกุมรถแต่ง สรุปได้ดังนี้

1. ท่อใหญ่ ที่เสียงดังไม่เกิน 90 เดซิเบลไม่ผิด ถ้าจะจับต้องมีเครื่องวัด จะใช้หูวัดเอาไม่ได้
2. สปอยเล่อร์ ชุดแต่งไฟเบอร์ ไม่ผิด แต่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย
3. รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. ( ต่ำกว่าผิด )
4. รถยกสูงต้องไม่สูงเกินกว่า 175 ซม.
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆติดได้ไม่ผิด
6. การแข่งขันรถบนถนนหลวง ผิดกฎหมาย ยึดรถ ส่งฟ้องศาลทันที
7. เปิดไฟโคมเหลืองในขณะที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกควัน ...อาจโดนเตือน
8. ควันขาว และควันดำ...ผิดครับเพราะก่อให้เกิดมลพิษ
9. การตัดต่อ ทำป้ายทะเบียนยาว ....ผิดกฎหมายฐานปลอมแปลง
10. ขับรถขณะมึนเมา...ผิดกฎหมาย จับได้ส่งฟ้องศาล   

แถมอีกนิดหน่อย
การใช้ไฟโคมเหลืองถ้าใช้ให้ถูกกับกาละเทศะ.....ไม่ผิดครับ
เช่นใช้ ในขณะที่ฝนตกหนัก ที่มีหมอกควันหนาทึบ...ใช้ได้ไม่ผิด
แต่การใช้ขณะค่ำคืนปัจจุบันมันจะเข้าตาคันหน้า จึงเตือนไม่ให้ใช้
ฉะนั้นการใช้งานให้ถูกกาละเทศะจึงจะปลอดภัยทุกประการ

การติดแผ่นป้ายไม่ถูกตำแหน่ง เช่นติดที่กันชนด้านซ้าย หรือขวา
แต่ควรติดในตำแหน่งที่ชัดเจน ป้ายไม่มีการดัดแปลง หรือทำให้เล็กลง
คุยกันดีๆ พออนุโลมได้ ถ้าตำรวจท่านนั้นไม่..ฟัน...อย่างเดียว

รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม.

1. ถ้าไฟหน้าต่ำกว่า 40 cm. วัดจากพื้นถนนขึ้นมา ไม่ต้องเปิดไฟหน้า ผิด พ.ร.บ.
    ถ้าวัดแล้วไม่ถึง 40 cm. วัดได้ 41 - 175 cm. ไม่ผิด พ.ร.บ.
2. ล้อ MAX. ขอบเท่าใหร่ ใส่มันขอบ 30 ก็ไม่ผิดกฏหมาย ถ้าไม่ล้นออกมานอกตัวถัง
    ของรถ Standard. ไม่ผิดกฏหมาย..... แต่ถ้าไปดึงโป่งล้อให้ยื่นออกมาจากที่
    จดทะเบียนไว้ ผิดแน่นอนครับ....ดัดแปลงสภาพ เต็มๆ
3. ท่อใหญ่ แค่ไหนก็ไม่ผิด เพราะไม่มีกฎหมายระบุไว้ มีแต่เสียง ถ้าดังเกิน 90 db.
    อ๋อ...แน่นอนครับ....ผิดเห็นๆอยู่แล้ว
4. ชุดแต่ง สปอยเลอร์ สเกิรต์ กันชนไฟเบอร์ เกจ์วัดต่างๆ ภายในตัวรถ ก็ไม่ผิดกฏหมาย
    ไม่มีระบุเอาไว้

 

Credit : rz-racingzone
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
อัตราค่าปรับ ลงไว้โดยล็อคอิน BigBoss
AOU DME 066

Offline Frankenstyle

  • DME Administrator
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 565
  • Thanked: 88 times
    • View Profile
ลงไว้โดยน้าโอ๋ DME 009
AOU DME 066

Offline nostoon

  • DME Member
  • *
  • Join Date: Jan 2015
  • Posts: 252
  • Thanked: 11 times
  • DME 123
    • View Profile
Note DME 123
Tel : 084-1585442
H22A 11xxxxx
M2Z4 LSD Manual Transmission
ชิวๆ